Table of Contents
- 1. ติดต่อผู้ให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยเลือกจากผู้ให้บริการ ที่มีมาตรฐาน และมีประสบการณ์
- 2. การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กกพ., การไฟฟ้า , และหน่วยงานท้องถิ่น
- 3. การตรวจสอบและอนุมัติจากหน่วยงานต่าง ๆ
- 4. การติดตั้งและการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้า
- ❓ FAQs เกี่ยวกับการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์
ในยุคที่พลังงานสะอาด และการช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กลายเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์สำหรับบ้านเรือนและธุรกิจกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากขึ้น ไม่เพียงแต่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าในครัวเรือน ภาคธุรกิจ และในภาคอุตสาหกรรม แต่ยังมีส่วนช่วยในการดูแลสิ่งแวดล้อมลดการใช้
พลังงานฟอสซิลที่กำลังหมดไปทุกวัน สำหรับบางคน ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์อาจดูซับซ้อนและสิ่งที่ควรรู้ใน 4 ขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้การติดตั้งเป็นไปอย่างราบรื่น
1. ติดต่อผู้ให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยเลือกจากผู้ให้บริการ ที่มีมาตรฐาน และมีประสบการณ์
พิจารณาเลือกบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ หรือผู้ให้บริการรับติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่มีมาตรฐาน มีประสบการณ์ และความชำนาญในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีประวัติการการทำงานที่น่าเชื่อถือ มีทีมวิศวกรชำนาญการในการคำนวณและการวางระบบ รวมถึงสามารถการันตีให้ขออนุญาตการติดตั้งโซลาร์เซลล์จากหน่วยงานรัฐได้เสร็จสมบูรณ์อีกด้วย
2. การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กกพ., การไฟฟ้า , และหน่วยงานท้องถิ่น
การติดตั้งโซล่าเซลล์ต้องผ่านการขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้การติดตั้งเป็นไปตามกฎหมาย และได้มาตรฐานความปลอดภัย รายละเอียดของการขออนุญาตและการตรวจสอบมีดังนี้
1) การขออนุญาตจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ⚡
หากมีการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้า จากแสงอาทิตย์ ผู้ติดตั้งจะต้องยื่นขอใบจดแจ้งยกเว้น ผลิตไฟฟ้าจาก กกพ.
เอกสารที่จำเป็น 📑:
1. หนังสือรับรองบริษัท (ออกไม่เกิน 6 เดือน) 2 ชุด
2. ส่าเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม 2 ชุด
3. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจลงนาม 2 ชุด
4. บิลค่าไฟย้อนหลัง 1 เดือน 2 ชุด
5. หนังสือมอบอำนาจ ขนานไฟ 1 ชุด
6. หนังสือมอบอำนาจ กกพ 1 ชุด
2) การขออนุญาตจากการไฟฟ้า (MEA หรือ PEA) 💼
หลังจากได้รับอนุญาตจาก กกพ. ผู้ติดตั้งต้องยื่นขออนุญาตเชื่อมต่อระบบโซล่าเซลล์กับระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า คือ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)
เอกสารที่จำเป็น 📑:
1. หนังสือรับรองบริษัท (ออกไม่เกิน 6 เดือน) 2 ชุด
2. ส่าเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม 2 ชุด
3. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจลงนาม 2 ชุด
4. บิลค่าไฟย้อนหลัง 1 เดือน 2 ชุด
5. หนังสือมอบอำนาจ ขนานไฟ 1 ชุด
6. หนังสือมอบอำนาจ กกพ 1 ชุด
3 ) ยื่นขออนุญาต หรือแจ้งหน่วยงานท้องถิ่น (เทศบาล/อบต.)
จะมี 2 กรณี ดังนี้
- ยื่นคำร้องแจ้งให้ทราบ - กรณี ถ้าการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาขนาดพื้นที่ไม่เกิน 160 ตารางเมตร และมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัม/ตารางเมตร ซึ่งไม่ต้องขอ แบบ อ.1 แต่ต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง และรับรองโดยวิศวกรโยธาตามกฏหมาย และทำหนังสือแจ้งการติดตั้งโซล่าเซลล์แทน
- ขอใบอนุญาตอ.1 - กรณี ถ้าการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาขนาดพื้นที่ มากกว่า 160 ตารางเมตร และมีน้ำหนักรวมมากกว่า 20 กิโลกรัม/ตารางเมตร
เอกสารที่จำเป็น 📑:
- กรณีผู้ขออนญาดเป็นเจ้าของที่ดิน แต่ไม่สามารถดำเนินการด้วยตัวเองได้
1. หนังสือรับรองบริษัท (ออกไม่เกิน 6 เดือน) 3 ชุด
2. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม 3 ชุด
3. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจลงนาม 3 ชุด
4. บิลค่าไฟย้อนหลัง 1 เดือน 3 ชุด
5. ส่าเนาใบขออนุญาตดัดแปลงอาคารเดิม ( อ. 1 เดิม) 3 ชุด
6. หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างในที่ดิน 3 ชุด
7. หนังสือมอบอำนาจ 3 ชุด
8. สำเนาโฉนดที่ดิน หรือ นส 3 ก ถ่ายเท่าตัวจริงหน้าหลัง 3 ชุด
9. แบบโครงสร้างอาคารที่ทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์ 3 ชุด
- กรณีโฉนดที่ดินติดจำนอง
1. เอกสารของธนาคารรับรองว่าให้ก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารระหว่างติดจำนอง 3 ชุด
- กรณีผู้ขออนุญาตไม่เป็นเจ้าของที่ดิน แต่ไม่สามารถดำเนินการด้วยตัวเองได้
1. หนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดิน จากเจ้าของที่ดิน 3 ชุด
2. หนังสือมอบอำนาจ 3 ชุด
3. สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน เจ้าของที่ดิน 3 ชุด
4. สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ขออนุญาต 3 ชุด
5. สำเนาสัญญาชื่อขาย หรือ สำเนาสัญญาเช่าที่ดิน 3 ชุด
6. หนังสือรับรองบริษัท (ออกไม่เกิน 6 เดือน) 3 ชุด
7. สำเนาโฉนดที่ดิน หรือ นส 3 ก ถ่ายเท่าตัวจริงหน้าหลัง 3 ชุด
8. สำเนาใบขออนุญาตดัดแปลงอาคารเดิม (อ. 1 เดิม) 3 ชุด
9. แบบโครงสร้างอาคารที่ทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์ 3 ชุด
- อย่างไรก็ตามการขอเอกสารเพิ่มเติมจากข้อที่กล่าวมาอาจเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ของเจ้าหน้าที่พื่นที่นั้นๆ
3. การตรวจสอบและอนุมัติจากหน่วยงานต่าง ๆ
เมื่อทำการติดตั้งโซล่าเซลล์เสร็จแล้ว จะส่งเรื่องให้กับการไฟฟ้าตรวจสอบความพร้อมในการเชื่อมต่อของระบบ รวมถึงการประเมินความปลอดภัยในการเชื่อมต่อโซล่าเซลล์กับโครงข่ายไฟฟ้าหลัก เมื่อผ่านการไฟฟ้าแล้ว จากนั้นจะส่งเรื่องให้กับ กกพ. เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและระบบการผลิตไฟฟ้าเพื่อให้มั่นใจว่าระบบปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ หากผ่านการตรวจสอบ กกพ. จะออกใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าให้
4. การติดตั้งและการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้า
เมื่อได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผ่านทุกขั้นตอนแล้ว ผู้ติดตั้งก็สามารถใช้โซล่าเซลล์ได้อย่างถูกต้อง
สิ่งสำคัญคือ เราควรต้องเลือกผู้ให้บริการรับติดตั้งโซล่าเซลล์ที่น่าเชื่อถือ และมีความรับผิดชอบต่องาน ไม่ละเลยการขออนุญาตการติดตั้ง เนื่องจากระยะเวลาในการขออนุญาต จะใช้เวลาประมาณ 2-6 เดือน กว่าจะเสร็จในทุกขั้นตอน บางพื้นที่อาจจะใช้เวลายาวนานถึง 6-9 เดือน เพราะฉะนั้นการค้นหาผู้ให้บริการติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่จะสามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงได้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก
❓ FAQs เกี่ยวกับการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์
1. ⏳ การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ใช้เวลานานเท่าไร?
ตอบ : โดยทั่วไป กระบวนการขออนุญาตใช้เวลาประมาณ 2-6 เดือน 🗓️ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานท้องถิ่นและความซับซ้อนของระบบที่ต้องการติดตั้ง
2. 💸 การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์มีค่าใช้จ่ายหรือไม่?
- อัตราค่าบริการการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภท Inverter Based Generator กับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์ https://static.mea.or.th/file_33v5etfh.pdf
3. 🔄 หากไม่ได้รับการอนุญาตติดตั้ง จะมีทางเลือกอื่นหรือไม่?
ตอบ : หากไม่ได้รับการอนุญาต แสดงว่ากระบวนการในการติดตั้งหรือภาพรวมยังมีความเสี่ยง ซึ่งอาจเกิดความอันตรายต่อบ้านเรือน และผิดต่อข้อกฎหมายที่กำหนดด้วย ดังนั้นหากต้องการติดตั้งโซล่าเซลล์ให้สบายใจ ควรเลือกใช้ผู้ให้บริการที่ได้มาตรฐาน มีประสบการณ์ และขออนุญาตตามขั้นตอนให้ถูกต้องจะได้ใช้ไฟแบบประหยัดในระยะยาว และมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของทุกคนในครอบครัว