Table of Contents
ปัจจุบัน การ ติดตั้งโซลาร์เซลล์ ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่การติดตั้งไม่ได้จบแค่การวางแผงบนหลังคาเท่านั้น ก่อนเริ่มโครงการ จำเป็นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แน่ใจว่าการติดตั้งเป็นไปตามมาตรฐาน และปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน
วันนี้ GEE Solar จะพาคุณมาทำความเข้าใจขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้ถูกต้อง รวมไปถึงคำถามสำคัญอย่าง เอกสาร อ.1 คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ เพื่อให้ ระบบโซลาร์ ของคุณใช้งานได้อย่างมั่นใจ และไร้ปัญหาในอนาคต
การขออนุญาตดัดแปลงอาคาร หรือ อ.1 คืออะไร?
การขอ ใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร (อ.1) เป็นกระบวนการที่เจ้าของอาคารต้องดำเนินการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง หรือรูปแบบของอาคารที่มีอยู่เดิมให้แตกต่างไปจากแบบ ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างครั้งแรก โดยเอกสาร อ.1 เป็นแบบคำขอที่ยื่นต่อหน่วยงานท้องถิ่น เช่น เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เพื่อให้หน่วยงานตรวจสอบว่า การดัดแปลงอาคารนั้นเป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคารหรือไม่
ตัวอย่างกรณีที่ต้องขอ อ.1:
- การต่อเติมหลังคา กันสาด หรือขยายพื้นที่อาคาร
- การเปลี่ยนโครงสร้างภายใน เช่น การรื้อกำแพงหรือเสริมเสา
- การปรับเปลี่ยนวัสดุโครงสร้างสำคัญของอาคาร
- การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา (ในบางกรณีที่อาจกระทบโครงสร้างอาคาร)
ดังนั้น หากมีการดัดแปลงอาคาร การยื่นขอ อ.1 เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย และไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง
รายการเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอ อ.1 ที่คุณควรรู้
- สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล 2 ฉบับ หมายเหตุ ออกไว้ไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ฉบับ หมายเหตุ ทะเบียนบ้านของผู้แทนนิติบุคคล
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ฉบับ ทะเบียนบ้านของผู้อนุญาต
- บัตรประจำตัวประชาชน 2 ฉบับ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
- สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้มอบอำนาจ 2 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ 2 ฉบับ
- สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดิน 2 ฉบับ กรณี ผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน
- สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดิน 2 ฉบับ กรณีผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน
- หนังสือรับรองนิติบุคคล 2 ฉบับ (หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของเจ้าของที่ดินออกไว้ไม่เกิน 6 เดือน) กรณีผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้แทนนิติบุคคลของเจ้าของที่ดิน 2 ฉบับ กรณีผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้แทนนิติบุคคลของเจ้าของที่ดิน 2 ฉบับ กรณีผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน
ติดโซล่าเซลล์ในพื้นที่ 160 ตรม. ต้องขอ อ.1 ไหม?
ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ปี 2558 (1 ตุลาคม 2558) หากติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาที่มีพื้นที่ไม่เกิน 160 ตารางเมตร และน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จะไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคาร จึงไม่จำเป็นต้องขออนุญาตแบบ อ.1 แต่ต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงโดยวิศวกรโยธาตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ อบต. หรือสำนักงานเขตอาจมีแนวปฏิบัติแตกต่างกัน
- บางแห่ง: แจ้งติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ไม่เกิน 160 ตร.ม. เพียงยื่นคำร้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า พร้อมแนบแบบคำนวณโครงสร้างที่เซ็นต์รับรองโดยวิศวกรโยธา (ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการจัดทำแบบและเซ็นต์แบบ)
- บางแห่ง: ยังคงต้องขออนุญาตแบบ อ.1 โดยเต็มรูปแบบ ทั้งการเขียนแบบและการคำนวณโครงสร้าง
ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์
การติดตั้งโซลาร์ ไม่ได้มีแค่การเลือกแผงและอุปกรณ์ แต่ยังต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัย และเป็นไปตามกฎหมาย นี่คือขั้นตอนสำคัญในการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์
1. ตรวจสอบข้อกำหนดและกฎหมาย
ก่อนติดตั้ง แผงโซลาร์ ควรศึกษาข้อบังคับของหน่วยงานภาครัฐ เช่น กฎหมายควบคุมอาคาร พ.ร.บ. การไฟฟ้า และกฎระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มั่นใจว่าการติดตั้งถูกต้องตามมาตรฐาน
2. ยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคาร ( อ.1 )
หากการติดตั้งโซลาร์เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร เช่น เสริมโครงสร้างหลังคา เพิ่มน้ำหนัก หรือดัดแปลงพื้นที่ ที่อาจส่งผลต่อความปลอดภัยของอาคาร เจ้าของอาคารจำเป็นต้องยื่นคำขออนุญาต (อ.1) กับ เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ของตนก่อนดำเนินการติดตั้ง
3. ยื่นคำขอเชื่อมต่อระบบกับการไฟฟ้า
สำหรับผู้ที่ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบ On-Grid (ระบบที่เชื่อมต่อกับสายส่งของการไฟฟ้า) ต้องยื่นคำขอเชื่อมต่อระบบกับ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ตามพื้นที่ให้บริการ โดยเอกสารที่ต้องใช้ประกอบไปด้วย
- สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชน ของเจ้าของอาคาร
- โฉนดที่ดิน หรือเอกสารสิทธิ์ ที่เกี่ยวข้อง
- แบบแปลนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ที่ระบุตำแหน่งของอุปกรณ์
- รายละเอียดทางเทคนิคของอุปกรณ์ เช่น แผงโซลาร์เซลล์ และอินเวอร์เตอร์
- หนังสือยินยอมจากเจ้าของอาคาร (ในกรณีที่อาคารเป็นอาคารเช่า)
4. ปรึกษา บริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ ที่มีมาตรฐานและเชี่ยวชาญ
การเลือกบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ ที่มีความเชี่ยวชาญ และได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยให้ระบบโซลาร์ของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะบริษัทที่มีประสบการณ์ จะสามารถออกแบบ และ ติดตั้งระบบโซล่า ได้อย่างเหมาะสม ตอบโจทย์ความต้องการด้านพลังงานได้อย่างแม่นยำ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโซลาร์เซลล์ สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องเกี่ยวกับ ขนาดและประเภทของระบบ ที่เหมาะกับอาคารของคุณ รวมถึงช่วยเลือกอุปกรณ์คุณภาพสูง เช่น แผงโซลาร์เซลล์และอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ที่ได้มาตรฐานระดับสากล ที่สำคัญการเลือก บริษัทที่มีผลงานติดตั้งที่น่าเชื่อถือ จะช่วยให้กระบวนการติดตั้งเป็นไปอย่างราบรื่น ลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และมั่นใจได้ว่าระบบของคุณ จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
5. ตรวจสอบและทดสอบระบบโดยการไฟฟ้า
หลังจากติดตั้งโซล่าเสร็จสิ้น การไฟฟ้าจะเข้ามาตรวจสอบ และทดสอบระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าการติดตั้งเป็นไปตามมาตรฐานทางไฟฟ้า ไม่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัย และพร้อมสำหรับการใช้งานจริง
6. เซ็นสัญญาและเปิดใช้งานระบบ
เมื่อผ่านการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว เจ้าของระบบต้อง เซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า (ในกรณีที่มีการขายไฟฟ้าคืนเข้าสู่ระบบ) หลังจากนั้นจึงสามารถเปิดใช้งานระบบโซลาร์เซลล์ได้อย่างเป็นทางการ
แม้ว่าการ ติดตั้งโซลาร์เซลล์ จะช่วยประหยัดค่าไฟ แต่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย หากละเลยขั้นตอนการขออนุญาต อาจถูกระงับการใช้งานหรือต้องแก้ไขภายหลัง ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนั้นการวางแผนล่วงหน้า และดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้องจะช่วยให้ระบบโซลาร์เซลล์ของคุณใช้งานได้อย่างมั่นใจ และคุ้มค่าที่สุด
GEE Solar เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ โรงงาน หรือผู้ประกอบการที่ต้องการลดต้นทุนค่าไฟฟ้า ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ GEE Solar รับติดตั้งโซล่าเซลล์ ครบวงจร เราให้ความสำคัญกับคุณภาพในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดสรรอุปกรณ์ระดับพรีเมียม ไม่ว่าจะเป็น แผงโซลาร์เซลล์ และอินเวอร์เตอร์ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล ไปจนถึงการติดตั้งโดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าระบบของคุณทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ปลอดภัย และใช้งานได้ยาวนาน
GEE Solar ให้บริการแบบครบวงจร ดูแลทุกขั้นตอนตั้งแต่ การให้คำปรึกษา สำรวจหน้างาน ออกแบบระบบ ติดตั้งระบบโซล่า ไปจนถึงการขออนุญาต จากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และการประสานงานกับการไฟฟ้านครหลวง (MEA) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) พร้อมจัดการเรื่องเอกสารและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความยุ่งยากให้คุณ คุณจึงมั่นใจได้ว่า การติดตั้งโซลาร์เซลล์จะเป็นไปตามมาตรฐานทุกขั้นตอน พร้อมเข้าสู่การใช้พลังงานสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดค่าไฟ และเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนในระยะยาว